วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

1.ประกาศเมื่อใด
พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ เอกสาร ผ่านการเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๐ และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๐
พระราชบัญญัตินี้ จะมีผลกระทบกับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โดยทั่วไป เพราะหากท่านทำให้เกิดการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ (ไม่ว่าจะบังเอิญหรือตั้งใจ) ก็อาจจะมีผลกับท่าน และที่สำคัญ คือผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือกลุ่มพนักงาน/นักศึกษาในองค์กร ท่านมีหน้าที่หลายอย่าง ในฐานะ "ผู้ให้บริการ"
ที่มา http://wiki.nectec.or.th
และบางส่วนจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=76772
2.สาเหตุหลักที่ต้องบัญญัติ พรบ. ฉบับนี้ขึ้น
เพื่อให้ประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายรองรับสังคมสารสนเทศ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงอยู่ของสังคมในศตวรรษที่ ๒๑ ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มีการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น 6 ฉบับ โดย ๓ ฉบับแรก เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิง สร้างสรรค์ อันเอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ส่วนกฎหมายในลำดับที่ ๔ และลำดับ ๕ เป็นกฎหมายที่จะใช้เป็นมาตรการในการคุ้มครองหรือปกป้องสังคมจากการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิงไม่สร้างสรรค์ และฉบับสุดท้ายเป็นกฎหมายฉบับที่จะสร้างกลไกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม สารสนเทศ โดยกฎหมาย
เจตนารมณ์ของกฎหมาย
เพื่อกำหนด
ฐานความผิด และบทลงโทษ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
หน้าที่ของผู้ให้บริการ

http://www.nectec.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=79:-2550&catid=40:technology-news&Itemid=165

2.สาเหตุหลักที่ต้องบัญญัติ พรบ. ฉบับนี้ขึ้น
เพื่อให้ประเทศมีโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายรองรับสังคมสารสนเทศ ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการดำรงอยู่ของสังคมในศตวรรษที่ ๒๑ ใน พ.ศ. ๒๕๔๐ คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้มีการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น 6 ฉบับ โดย ๓ ฉบับแรก เป็นกฎหมายที่ส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิง สร้างสรรค์ อันเอื้อต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ส่วนกฎหมายในลำดับที่ ๔ และลำดับ ๕ เป็นกฎหมายที่จะใช้เป็นมาตรการในการคุ้มครองหรือปกป้องสังคมจากการประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในเชิงไม่สร้างสรรค์ และฉบับสุดท้ายเป็นกฎหมายฉบับที่จะสร้างกลไกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของสังคม สารสนเทศ โดยกฎหมาย
เจตนารมณ์ของกฎหมาย
เพื่อกำหนด
ฐานความผิด และบทลงโทษ
อำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่
หน้าที่ของผู้ให้บริการ

http://www.nectec.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=79:-2550&catid=40:technology-news&Itemid=165


1. มีประเด็นสำคัญอะไรบ้าง
• กฎหมายว่าด้วยอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ร่างกฎหมายฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการกระ ทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อผ่านการรับหลักการของคณะรัฐมนตรี และเข้าสู่การพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน)แล้ว ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... เนื่องจากคณะกรรมการเห็นว่า การกระทำบางลักษณะไม่น่าจะเป็น “อาชญากรรม Crime)”) ร่างกฎหมายนี้ เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไปเมื่อวันที่ ๑๕ พ.ย. ๒๕๔๙ ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ พิจารณาร่าง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (อ่านตัวร่าง พ.ร.บ. นี้ ร่าง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับที่ผ่าน สคก.แล้ว)
http://www.nectec.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=79:-2550&catid=40:technology-news&Itemid=165
มาตรา ๒๖
ผู้ให้บริการจะ ต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการ เท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง
ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ โดยมิชอบ
มาตรา 5 “ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
การเปิดเผยมาตรการป้องกัน การเข้าถึง
มาตรา 6 “ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยมิชอบ
มาตรา 7 “ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
การดักข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยมิชอบ
มาตรา 8 “ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
การรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์
มาตรา 9 “ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์
มาตรา 10 “ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ”
การกระทำความผิดอื่นๆ
การส่งข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา มาตรา 11
การกระทำซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคง มาตรา 12
การจำหน่าย / เผยแพร่ชุดคำสั่งที่ใช้ในการกระทำผิด มาตรา 13
การเผยแพร่เนื้อหาอันไม่เหมาะสม มาตรา 14
http://www.slideshare.net/teawkrean/ss-4928725


4.เราจะต้องปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการกระทำผิด

ผู้ใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต

ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่ทำให้ท่าน "กระทำความผิด" ตาม พรบ.นี้
อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น
อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
อย่า กด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security
อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ทำไมเราจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำข้างบนนี้? เชิญอ่านรายละเอียดเต็มๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ เพื่อทราบเหตุผล และความผิดที่เกี่ยวข้อง
http://www.yenta4.com/law/document2.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น